เกณฑ์ในการแบ่งขนาดธุรกิจ SMEs

 

 

เขาใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งขนาดธุรกิจ SMEs

          ในประเทศไทยมีหน่วยงานรัฐหลายแห่งใช้เกณฑ์การแบ่งขนาดธุรกิจ SMEs แตกต่างกันไป แต่เกณฑ์ที่ใช้แบ่งขนาด SMEs ในประเทศไทยจะใช้เกณฑ์ดังต่อไปนี้

  • ขนาดเงินลงทุน
  • จำนวนการจ้างงาน
  • ยอดขาย
  • มูลค่าทรัพย์สินถาวร
  • หรือผสมกันในหลายๆ เกณฑ์ข้างต้น

 

การใช้เกณฑ์การแบ่งธุรกิจ SMEs ของกรมสรรพากร

            กรมสรรพากรได้ใช้เกณฑ์ขนาดเงินลงทุนในการกำหนดว่าธุรกิจใดอยู่ในเกณฑ์ธุรกิจ SMEsโดยมีกฎเกณฑ์ดังนี้

  • ธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจ SMEs ของกรมสรรพากร คือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
  • กรมสรรพากรให้สิทธิพิเศษในด้านภาษีแก่ผู้ประกอบการ SMEs  ดังนี้

                  - ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลบางส่วน(ณ ปัจจุบันปี2558 ได้รับยกเว้นกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกไม่ต้องเสียภาษีและส่วนที่เกิน 3 แสนบาทเสียในอัตรา 10 %

                  - กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้สอบบัญชีได้(ซึ่งโดยส่วนใหญ่ค่าบริการจะถูกกว่า)

 

การใช้เกณฑ์มูลค่าขั้นสูงของทรัพย์สินถาวรกำหนดนิยามธุรกิจ SMEs

            ข้อมูลเมื่อ 8 ธันวาคม 2541 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น

กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย ธนาคารต่างๆ และหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันกำหนดนิยามธุรกิจ SMEs ใหม่ โดยใช้มูลค่าของทรัพย์สินถาวร ตามตารางสรุปดังต่อไปนี้

ที่มาของข้อมูล : ข้อมูลจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

                                                     กระทรวงอุตสาหกรรม เมษายน 2542

 

 

Visitors: 791,146