8.แก้ไขเพิ่มเติมมติพิเศษให้เพิ่มทุน, เพิ่มทุนและหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5.

หลักเกณฑ์การเพิ่มทุน

การเพิ่มทุนของบริษัท จะกระทำได้โดยการออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้นเนื่องจากรายการเกี่ยวกับทุนของบริษัทอยู่ในรายการหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ดังนั้น หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงทุนจะต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ด้วย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. จัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้เพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม การประชุม

1.1 ส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) รวมทั้งให้ระบุทุนที่เพิ่มและหนังสือบริคณห์สนธิที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น

1.2 ในการลงมติเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

2. การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม

3. หุ้นที่ออกใหม่ ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นนั้นๆ ถือหุ้นอยู่ คำเสนอ ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน ให้ระบุจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีสิทธิจะซื้อได้ และกำหนดวันที่จะต้องแจ้ง หากพ้นวันดังกล่าวแล้วยังไม่ตอบรับการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจะถือว่าผู้ถือหุ้นไม่ซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว

4. เมื่อพ้นกำหนดไปแล้วไม่มีการตอบรับจากผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหุ้นปฏิเสธไม่ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุน ให้ขายหุ้นนั้นแก่ผู้ถือหุ้นคนอื่น หรือกรรมการรับซื้อไว้เองก็ได้

5. หุ้นที่ออกใหม่จะขายให้แก่บุคคลภายนอกไม่ได้

6. หุ้นที่ออกใหม่ถ้าชำระด้วยสิ่งอื่นนอกจากตัวเงินต้องมีมติพิเศษของที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องระบุรายละเอียดของสิ่งที่นำมาชำระค่าหุ้นให้ชัดเจน

วิธีการจดทะเบียนเพิ่มทุน

แบ่งเป็นดังนี้

1. กรณียังไม่ได้ขายหุ้นออกใหม่ ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ

2. กรณีที่ขายหุ้นออกใหม่เป็นคราว ๆ ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน ภายใน 14 วันนับจากวันที่ประชุมมีมติพิเศษ และจดทะเบียนเพิ่มทุนตามจำนวนหุ้นที่ขายได้ พร้อมทั้งจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่ม

ในการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ให้สอดคล้องกับทุนที่เพิ่มเป็นคราวๆ ไป นั้น จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นการประชุมคราวเดียวกับการประชุมมติพิเศษเพิ่มทุนก็ได้

3. กรณีขายหุ้นออกใหม่ทั้งหมดในคราวเดียวกัน ให้ยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน จดทะเบียนเพิ่มทุน และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) พร้อมกัน ทั้งนี้จะต้องจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนภายใน 14 วัน

ในกรณีที่ต้องการออกหุ้นใหม่ในมูลค่าที่ต่างจากมูลค่าเดิม จะต้องจัดประชุมแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) โดยให้แก้ไขมูลค่าหุ้น (แปลงมูลค่าหุ้น) ก่อน แล้วจึงมีมติเพิ่มทุนและแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (ทุน) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสามารถพิจารณาในการประชุมคราวเดียวกันได้ การยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) ในกรณีที่ต้องการแปลงมูลค่าหุ้นพร้อมกับการขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนนั้น ให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดทำคำขอจดทะเบียน 2 คำขอ คือ

3.1 คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้น) และ

3.2 คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน เพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. (ทุน) ให้ยื่นจดทะเบียนพร้อมกันทั้ง 2 คำขอ

ข้อมูลที่ต้องใช้

1.ทุน จำนวนหุ้น ที่เพิ่ม

2.รายการหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. ที่แก้ไขแล้ว

 


  • ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อ...

  • กรรมการลาออก เปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ เพิ่มกรรมการ กรรมการพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้ (1) ครบกำหนดวาระ ในการประชุมสามัญประจำปีแต่ละปี กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสา...

  • การแก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่โดยที่ตั้งแห่งใหม่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ ดังนั้น ใ...

  • กรณีที่ดวงตราสำคัญของบริษัทสูญหายหรือชำรุดหรือบริษัทมีความประสงค์จะเปลี่ยนแบบตราสำคัญเสียใหม่ บริษัทจะต้องยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงดวงตราด้วย การจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงดวงตร...

  • ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1. (ชื่อ) มีดังนี้ 1. กรรมการของบริษัทจองชื่อนิติบุคคล *ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล* 2. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ...

  • 1.จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 ว...

  • 1.จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 ว...

  • วิธีการลดทุน บริษัทจะลดทุนของบริษัทลงด้วยการลดมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นให้ต่ำลง แต่ต้องคงเหลือไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท หรือลดจำนวนหุ้นให้น้อยลงก็ได้ โดยอาศัยมติพิเศษของที ประชุมผู้ถือหุ้น ...

  • ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับมีดังนี้ 1.จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้...

  • ขั้นตอนการเลิก 1.บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ 1.1เลิกโดยผลของกฎหมาย (1)กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น (2)ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อส...

  • เมื่อบริษัทได้เลิกกันแล้ว และได้ตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อชำระสะสางทรัพย์สินหนี้สินของบริษัท ต่อมาต้องการตั้ง/เปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีและแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชีใหม่ จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถื...

  • ขั้นตอนการชำระบัญชี 1.เมื่อเลิกบริษัทแล้ว 2.ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย 3.ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ขั้นตอนตาม...

  • การควบบริษัทจำกัด คือการที่บริษัทจำกัดตั้งแต่ 2 บริษัท ขึ้นไปมารวมกันเป็นบริษัทเพียงบริษัทเดียว เพื่อลดการแข่งขันทางการค้า ขยายกิจการค้า ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยบริษัทที่ตั้ง...
Visitors: 791,003